กองทุน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident fund (PVD) เป็นกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยสมัครใจ เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่นคงแก่ลูกจ้างและครอบครัว ในกรณีที่ลูกจ้าง ออกจากงาน เกษียณอายุ หรือเสียชีวิต

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้ “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมีลักษณะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งแยกจากนิติบุคคลของนายจ้างและบริษัทจัดการ มีการควบคุมดูแลการดำเนินงานโดยคณะกรรมการกองทุนที่มาจากการแต่งตั้งและเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีนายทะเบียนซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยกฎหมาย คือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ช่วยกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการกองทุนให้แก่กองทุนต่างๆ อีกด้วย

 


องค์ประกอบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

  1. เงินสะสม คือ เงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุน ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิที่จะเลือก อัตราการจ่ายเงินสะสมได้ตั้งแต่ร้อยละ 2 จนถึงสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในข้อบังคับกองทุนแต่ละนายจ้าง

  2. เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน โดยนายจ้างช่วยสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 2 จนถึงสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง ซึ่งอัตราการจ่ายเงินสมทบให้แก่ลูกจ้างอาจแตกต่างกันตามเงื่อนไข ระยะเวลาการทำงาน หรือระยะเวลาการเป็นสมาชิก เป็นต้น โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในข้อบังคับกองทุนแต่ละนายจ้าง

  3. ผลประโยชน์ของเงินสะสม คือ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการนำเงินสะสมไปลงทุน

  4. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ คือ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการนำเงินสมทบไปลงทุน

 


ประเภทกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  1. กองทุนเดี่ยว (Single Fund)
    เป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีนายจ้างเพียงรายเดียว มีข้อบังคับและนโยบายการลงทุนเฉพาะของกองทุนนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีเงินทุนตั้งต้นขนาดใหญ่

  2. กองทุนร่วมหลายนโยบายการลงทุน(Master Pooled Fund)
    เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทจัดการมีนายจ้างมากกว่าหนึ่งรายโดยใช้ข้อบังคับหลักและนโยบายการลงทุนร่วมกัน ทั้งนายจ้างแต่ละรายสามารถกำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตนได้ในข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน
    เหมาะสำหรับองค์กรที่จัดตั้งกองทุนเป็นครั้งแรก ซึ่งสามารถเข้าร่วมกองทุนนี้ได้โดยไม่จำกัดจำนวนสมาชิกหรือขนาดกองทุนเริ่มต้น

 

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

 

สิทธิประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 

สำหรับนายจ้าง

  1. เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทตามที่จ่ายจริง ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างในปีภาษีนั้น ทำให้นายจ้างเสียภาษีน้อยลง

  2. เป็นสวัสดิการที่จูงใจลูกจ้าง

  3. เป็นภาพลักษณ์ที่ดีของนายจ้าง

  4. ช่วยลดปัญหาอัตราการหมุนเวียนเข้าออกของพนักงาน (Turn over)

สำหรับลูกจ้าง

  1. เงินสะสมสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับ RMF, SSF, เบี้ยประกันบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

  2. สร้างวินัยการออม

  3. มีเงินออมไว้ใช้เมื่อออกจากงาน ทุพพลภาพหรือเกษียณอายุ

  4. เป็นหลักประกันให้ตนเองและครอบครัว และเพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมั่นคง 

  5. ได้เงินสมทบจากนายจ้าง

  6. มีมืออาชีพช่วยบริหารเงิน

 

 

การให้บริการของ บลจ.แอสเซทพลัส

  • ให้คำปรึกษาแก่คณะทำงาน/คณะกรรมการกองทุน ในการพิจารณารูปแบบกองทุนและความเหมาะสมในการจัดตั้งกองทุน เช่น กองทุนเดี่ยว (Single Fund) กองทุนร่วม (Pooled Fund)

  • บริการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยการนำเงินจากกองทุนไปบริหารเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้ พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และระดับความเสี่ยงที่อนุมัติให้ลงทุน

  • บริการสมาชิกโดยให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  และแนวทางในการเลือกนโยบายการลงทุน (Employee’s Choice) ตามที่สมาชิกต้องการ

  • บริการสมาชิกโดยให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนประเภทต่างๆ ในด้านอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยง รวมถึงให้คำปรึกษาในการเลือกนโยบายการลงทุน

  • บริการรายงานข้อมูลเงินกองทุนรายสมาชิก ซึ่งแยกเป็นเงินสะสม ผลประโยชน์เงินสะสม เงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสมทบ พร้อมข้อมูลจำนวนหน่วย มูลค่าต่อหน่วย ณ วันที่รายงาน

  • บริการรายงานสำหรับคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.แอสเซท พลัส  ปัจจุบันให้บริการประเภทกองทุนร่วมหลายนโยบายการลงทุน(Master Pooled Fund) คือ "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แอสเซท พลัส มาสเตอร์ฟันด์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว" มีนโยบายการลงทุน ให้เลือกทั้งหมด 16 นโยบาย และรองรับแผนการลงทุนสมดุลตามอายุ (Life Path/Target Date) คือ การลงทุนที่จัดสรรเงินลงทุนตามอายุของสมาชิกในระยะยาว เพื่อให้สมาชิกมีเงินเพียงพอใช้หลังเกษียณ โดยสมาชิกเลือกแผนการลงทุนสมดุลตามอายุเพียงครั้งเดียว ระบบจะปรับลดสัดส่วนการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงอัตโนมัติให้สอดคล้องกับช่วงอายุที่เปลี่ยนไป (อายุน้อยเสี่ยงมาก อายุมากเสี่ยงน้อย)

การลงทุนสมดุลตามอายุเหมาะสำหรับ
1. สมาชิกที่ไม่มีเวลาติดตามการลงทุน หรือคอยปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนให้เหมาะสมตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
2. สมาชิกที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุน ไม่รู้ว่าควรเลือกนโยบายการลงทุนอย่างไรที่จะเหมาะสมกับตนเอง


สนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กับ บลจ.แอสเซท พลัส 
   

ติดต่อได้ที่

  • Customer Care โทร. 0-2672-1111 หรือ

  • ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 0-2672-1150 E-mail : pvdsupport@assetfund.co.th


แหล่งความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถศึกษาได้ที่ www.Thaipvd.com