กองทุน
กองทุนส่วนบุคคล
ประเภทของผู้ลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล
“บุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
“คณะบุคคล” หมายถึง กลุ่มบุคคลที่รวมกันตั้งแต่ 2 ถึง 35 ราย โดยในคณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นจะต้องมีสัญชาติไทยทั้งหมดหรือไม่มีสัญชาติไทยทั้งหมด
นโยบายการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคล
- กองทุนที่ลงทุนในหุ้น (Equity Fund) เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นเต็มอัตรา (Fully Invested) เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้แก่เงินลงทุน จึงเหมาะกับนักลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนในอัตราที่สูงและสามารถยอมรับความผันผวนของมูลค่าเงินลงทุนได้
- กองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ และเงินฝาก ซึ่งจัดว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ กองทุนประเภทนี้จึงเหมาะกับนักลงทุนประเภทอนุรักษ์นิยม (Conservative) ที่ไม่ชอบความเสี่ยงและไม่คาดหวังผลตอบแทนสูงนัก หรือคาดหวังผลตอบแทนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน
- กองทุนแบบผสม (Mixed Fund) เป็นกองทุนที่ผสมผสานการลงทุนทั้งในตราสารทุน และตราสารหนี้ ที่อาจมีการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารทั้งสองไว้แน่นอน ทั้งนี้ สามารถเปลี่ยนแปลงสัดส่วนได้ตามนโยบายของผู้ลงทุน โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดสรรเงินลงทุน (Asset Allocation) ในตราสารทุน และตราสารหนี้ ตามความเหมาะสมของสภาวการณ์ในแต่ละขณะ
- การลงทุนในต่างประเทศ (Offshore Investment) ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้บุคคลทั่วไปสามารถลงทุนในต่างประเทศได้โดยตรง โดยการลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งนอกจากจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารคุณภาพดีแล้ว ยังเป็นการกระจายการลงทุน ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียว
- นิติบุคคล: ที่มีสินทรัพย์มากกว่า 1,000 ล้านบาท สามารถลงทุนได้ไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ
- บุคคลธรรมดา : บุคคลธรรมดา ยกเว้น คณะบุคคล สามารถลงทุนได้ไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนในต่างประเทศกำไรจากการลงทุนในต่างประเทศจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากนำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวกลับเข้ามาข้ามปีภาษี
- เงินลงทุนขั้นต่ำ 10 ล้านบาท
- อัตราค่าธรรมเนียมการจัดการ 0.5%-2.50% ต่อปของมูลค่าทรพย์สินสุทธิ(อัตราค่าธรรมเนียมขึ้นกับนโยบายการลงทุนที่เลือก 2.0% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ(กองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นเป็นหลัก)
- อัตราค่าธรรมเนียมผู้รับฝากทรัพย์สินรายปี 0.05% ของมูลค่าทรัพย์สิน
|
ปัจจัยที่ควรพิจาณาก่อนเลือกนโยบายการลงทุน
- ทักษะความรู้และความเข้าใจด้านการลงทุน
- ความพร้อมของเงินลงทุน
- วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการลงทุน
- อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- ลักษณะและระยะเวลาของการลงทุน
- รายละเอียดและข้อจำกัดทางภาษี
- ระยะเวลาที่ต้องการผลตอบแทน
- ข้อจำกัดและข้อยกเว้นของท่าน
คุณสมบัติเฉพาะตัวที่แอสเซท พลัส ภูมิใจให้บริการอันคุ้มค่า
- คุณภาพของกระบวนการตัดสินใจลงทุนที่ได้ผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee) ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการจัดสรรเงินลงทุน (Asset allocation) และคัดเลือกหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่จะลงทุน
- ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนของผู้บริหารและผู้จัดการลงทุน ทำให้รู้จังหวะการลงทุน (Market Timing)
- การมีหลักเกณฑ์และความชัดเจนของขั้นตอนในการตัดสินใจลงทุนที่สามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้ผู้จัดการกองทุน ยึดเป็นหลักในการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
- หลักการบริหารกองทุนที่ยึดมั่นในจรรยาบรรณ และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพอย่างเคร่งครัด